คือ ประโยชน์ตอบแทนให้กับนักโทษเด็ดขาดที่ได้สำนึกแก่ความผิดและตั้งใจประพฤติตนเป็นคนดี มีความอุตสาหะ มีความก้าวหน้าในการศึกษาและอบรม ทำการงานเกิดผลดีหรือทำความชอบแก่ทางราชการเป็นพิเศษ อาจได้รับการพิจารณาให้ปล่อยตัวพักการลงโทษก่อนครบกำหนดโทษตามหมายศาล ตามมาตรา 52 (7) แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560
ช่วงนี้ก็เริ่มมีโครงการพักโทษใหม่ๆเข้ามาหลากหลาย ผู้ต้องขังที่รักของทุกท่านอาจเข้าเงื่อนไขของโครงการเหล่านี้ ลองอ่านรายละเอียดเหล่านี้กันดูนะครับ เผื่อว่าจะสามารถทำให้ผู้ต้องขังเหล่านี้กลับบ้านได้เร็วขึ้นครับ
เพื่อสร้างโอกาสให้นักโทษเด็ดขาดอายุตั้งแต่ 60 – 69 ปี ได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยที่มีความเหมาะสมกับช่วงวัย และได้รับการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยไม่กลับมากระทำผิดซ้ำ ต้องมีคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ทั่วไป ดังนี้
1. ต้องโทษจำคุกครั้งแรก
เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นดีขึ้นไปที่มีอายุตั้งแต่ 60 – 69 ปี
2. ต้องโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 2
ของกำหนดโทษตามหมายแจ้งโทษเด็ดขาดฉบับหลังสุด หรือไม่น้อยกว่า 10 ปี
ในกรณีที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตที่มีการเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุกมีกำหนดเวลา
3. มีโทษเหลือจำต่อไปไม่เกิน 3 ปี (นับจากวันปิดการอบรม)
4. ไม่มีโทษกักขัง
หรือไม่ถูกคุมขังตามหมายขังในคดีอื่น
5. มีผู้อุปการะซึ่งมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งและยินดีรับอุปการะ
6. ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยเกี่ยวกับยาเสพติด
เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เครื่องมือสื่อสารอื่น
รวมทั้งอุปกรณ์สำหรับสิ่งของดังกล่าว
7. ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยกรณีอื่นภายในระยะเวลา
6 เดือน ก่อนเสนอขอพักการลงโทษ
8. ไม่อยู่ระหว่างดำเนินการทางวินัยทุกกรณี
9. ผ่านการประเมินผลตามแบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังก่อนได้รับการปล่อยตัว
(Offender Risk Assessment : OA) มีความเสี่ยงในการทำการกระทำผิดซ้ำน้อย
หรือค่อนข้างน้อย
10. ผ่านเกณฑ์การประเมินผลการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังสูงอายุ
หรือหลักสูตรอื่นตามที่คณะทำงานโครงการเห็นสมควร
กำหนดให้นักโทษเด็ดขาดซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกไม่เกินสามปีและต้องโทษจำคุกเพียงคดีเดียวให้เลื่อนชั้นได้ปีละสามครั้ง คือ ในวันสิ้นเดือนเมษายนครั้งหนึ่ง ในวันสิ้นเดือนสิงหาคมครั้งหนึ่ง และในวันสิ้นเดือนธันวาคมอีกครั้งหนึ่ง ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น
จะเสนอขอพักการลงโทษกรณีปกติ
ต้องมีคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ทั่วไป ดังนี้
1. เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรา 52 (7) แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์พ.ศ. 2560 และข้อ 42
แห่งกฎกระทรวงกำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาดและเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจำคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ
พ.ศ. 2562
2. เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นดีขึ้นไป
3. มีกำหนดโทษตามคำพิพากษา ไม่เกิน 3 ปี คดีเดียว
4. ต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก
5. มีผู้ดูแลอุปการะซึ่งมีความพร้อมในระหว่างพักการลงโทษ
6. ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยเกี่ยวกับยาเสพติด
เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เครื่องมือสื่อสารอื่น รวมทั้งอุปกรณ์สำหรับสิ่งของดังกล่าว
7. ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยกรณีอื่นภายในระยะเวลา 6 เดือน
ก่อนเสนอขอพักการลงโทษ
8. ไม่อยู่ระหว่างดำเนินการทางวินัยทุกกรณี
9. ไม่มีโทษกักขัง หรือไม่ถูกคุมขังตามหมายขังในคดีอื่น
10. ผ่านการอบรมตามประเภทคดีหรือพฤติการณ์ของการกระทำผิด
หรือโปรแกรมสำหรับผู้ต้องขังที่มีโทษระยะสั้น
11. ผ่านการประเมินผลตามแบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังก่อนได้รับการปล่อยตัว
(Offender Risk Assessment : OA) มีความเสี่ยงในการทำการกระทำผิดซ้ำน้อย
หรือค่อนข้างน้อย
จะเสนอขอพักการลงโทษกรณีปกติ
ต้องมีคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ทั่วไป ดังนี้
1. นักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษจำคุกเนื่องจากกระทำผิดอันเกิดจากความประมาท
2. เป็นนักโทษชั้นดีขึ้นไป
และกำหนดให้ดำเนินการเป็น 2 กรณี หากนักโทษเด็ดขาดเข้าเกณฑ์พักการลงโทษกรณีปกติ
ให้เรือนจำ/ทัณฑสถานเสนอขอพักการลงโทษกรณีปกติ
หากเข้าเกณฑ์พักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษให้เสนอขอพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ คือ
a.นักโทษเด็ดขาดที่จะได้รับการพิจารณาพักการลงโทษกรณีปกติ
จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรา 52 (7) แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์
พ.ศ.2560 และข้อ 42 แห่งกฎกระทรวงกำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด
และเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจำคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ
b.นักโทษเด็ดขาดที่จะได้รับการพิจารณาพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ
ต้องโทษจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของกำหนดโทษฉบับหลังสุด
3. มีผู้ดูแลอุปการะซึ่งมีความพร้อมในระหว่างพักการลงโทษ
4. ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยเกี่ยวกับยาเสพติด
เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เครื่องมือสื่อสารอื่น
รวมทั้งอุปกรณ์สำหรับสิ่งของดังกล่าว
5. ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยกรณีอื่นภายในระยะเวลา
6 เดือน ก่อนเสนอขอพักการลงโทษ
6. ไม่อยู่ระหว่างดำเนินการทางวินัยทุกกรณี
7. ไม่มีโทษกักขัง
หรือไม่ถูกคุมขังตามหมายขังในคดีอื่น
8. ผ่านการอบรมตามประเภทคดีหรือพฤติการณ์ของการกระทำผิด
หรือโปรแกรมสำหรับผู้ต้องขังที่มีโทษระยะสั้น
9. ผ่านการประเมินผลตามแบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังก่อนได้รับการปล่อยตัว
(Offender Risk Assessment : OA) มีความเสี่ยงในการทำการกระทำผิดซ้ำน้อย
หรือค่อนข้างน้อย
กรมราชทัณฑ์พิจารณาแล้ว
เพื่อให้การพิจารณาพักการลงโทษให้แก่นักโทษเด็ดขาดที่มีกำหนดโทษไม่เกิน 2 ปี
กระทำความผิดคดีเล็กน้อย กำหนดโทษไม่สูง และมีความเสี่ยงในกระทำผิดซ้ำน้อย ได้รับประโยชน์จากการพักการลงโทษมากขึ้นและรวดเร็ว
จึงกำหนดแนวทางการพิจารณาพักการลงโทษกรณีปกติให้แก่นักโทษเด็ดขาดที่มีกำหนดโทษไม่เกิน
2 ปี ดังนี้
1. เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรา
52 (7) แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์
พ.ศ.2560 และข้อ 42 แห่งกฎกระทรวงกำหนดประโยชน์ของนักโทษเด็ดขาด
และเงื่อนไขที่นักโทษเด็ดขาดซึ่งได้รับการลดวันต้องโทษจำคุกหรือการพักการลงโทษและได้รับการปล่อยตัวต้องปฏิบัติ
พ.ศ.2562
2. เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นดีขึ้นไป
3. มีกำหนดโทษตามคำพิพากษา ไม่เกิน 2 ปี
4. ต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก
5. มีผู้ดูแลอุปการะซึ่งมีความพร้อมในระหว่างพักการลงโทษ
6. ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยเกี่ยวกับยาเสพติด
เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ เครื่องมือสื่อสารอื่น
รวมทั้งอุปกรณ์สำหรับสิ่งของดังกล่าว
7. ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัยกรณีอื่นภายในระยะเวลา
6 เดือน ก่อนเสนอขอพักการลงโทษ
8. ไม่อยู่ระหว่างดำเนินการทางวินัยทุกกรณี
9. ไม่มีโทษกักขัง
หรือไม่ถูกคุมขังตามหมายขังในคดีอื่น
10. ผ่านการอบรมตามประเภทคดีหรือพฤติการณ์ของการกระทำผิด
หรือโปรแกรมสำหรับผู้ต้องขังที่มีโทษระยะสั้น
11. ผ่านการประเมินผลตามแบบประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังก่อนได้รับการปล่อยตัว
(Offender Risk Assessment : OA) มีความเสี่ยงในการทำการกระทำผิดซ้ำน้อย
หรือค่อนข้างน้อย
___________________________________________________
นักโทษเด็ดขาดชั้นดีขึ้นไป ที่จำคุกตามคำพิพากษามาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของกำหนดโทษ ตามหมายศาลในขณะนั้น แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ในกรณีต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ต้องมีระยะเวลาจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 14 ปี หรือในกรณีต้องโทษประหารชีวิต ต้องมีระยะเวลาจำคุกมาแล้วไม่น้อยกว่า 16 ปี ในกรณีที่มีการเปลี่ยนเป็นโทษจำคุกที่มีกำหนดเวลา อาจได้รับการพิจารณาให้ได้รับการพักการลงโทษ ดังนี้
มีระยะเวลาการคุมประพฤติไม่เกิน 5 ปี (คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาระยะเวลาคุมประพฤติไม่เกิน 2 ปี)
* หมายเหตุ: เอกสารหมายเลข 1, 2, 3 และ 4 นักโทษเด็ดขาดต้องจัดเตรียมและยื่นต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อประกอบการพิจารณา ส่วนเอกสารอื่นๆ เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ดำเนินการตามขั้นตอน